ประวัติสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย
 
 
 
 

 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย

 

      สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย มีที่ตั้งสำนักงานฯ อยู่ที่ชั้น 1 (ปีกซ้าย ติดกับ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) อาคารศาลากลางจังหวัดสุโขทัย(หลังใหม่) ถนนนิกรเกษม อำเภอเมืองสุโขทัยธานี จังหวัดสุโขทัย 64000

       เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2526 ตามพระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการ กรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ในระยะแรกมีที่ตั้งสำนักงานฯ อยู่ที่ชั้น 1 อาคารศาลากลางจังหวัดสุโขทัย (อาคารไม้หลังเก่า) โดยมีนายทวีป วัฒนไชย เป็นประชาสัมพันธ์จังหวัดคนแรก อันเนื่องมาจากจังหวัดสุโขทัยมีกำหนดจัดงาน 100 ปี ลายสือไท และต้องการประชาสัมพันธ์การจัดงานฯ ให้เป็นที่แพร่หลาย จึงได้ร้องขอไปยังกรมประชาสัมพันธ์ให้ส่งประชาสัมพันธ์จังหวัด มาทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์การจัดงานฯ ในระยะแรก มีข้าราชการและเจ้าหน้าที่ รวม 5 อัตรา ได้แก่ ประชาสัมพันธ์จังหวัด (นายทวีป วัฒนไชย) เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และ พนักงานขับรถยนต์ และได้รับการจัดสรรงบประมาณดำเนินกิจการจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย (เนื่องจาก กรมประชาสัมพันธ์ยังไม่ได้ตั้งงบประมาณรองรับภารกิจ)

       ต่อมาในปี พ.ศ.2537 มีส่วนราชการในจังหวัดเพิ่มมากขึ้น และสถานที่ตั้งสำนักงานฯ ที่อาคารศาลากลาง(หลังเก่า) คับแคบ จึงได้ได้ย้ายสำนักงานฯ มาอยู่ที่ชั้น 1 อาคารหอประชุมจังหวัดสุโขทัย (ปัจจุปันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสัสดีจังหวัด และสำนักงานสหกรณ์จังหวัด) มี นายเสน่ห์ มีพร้อม เป็นประชาสัมพันธ์จังหวัด มีข้าราชการและเจ้าหน้าที่ รวม 6 อัตรา ได้แก่ ประชาสัมพันธ์จังหวัด นักประชาสัมพันธ์(ตำแหน่งผู้ช่วยประชาสัมพันธ์จังหวัด) เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และ พนักงานขับรถยนต์ และ ในปี 2542 ได้มีการก่อสร้างอาคารศาลากลางหลังใหม่(อาคารหลังปัจจุปัน) สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย จึงได้ย้ายสำนักงานฯ อีกครั้ง มาอยู่ที่บริเวณปีกซ้าย ชั้น 1 และดำเนินภารกิจด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนมาจนถึงปัจจุปัน

      กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2545 ให้กรมประชาสัมพันธ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการเป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีระบบ โดยการเสนอแนะนโยบายด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาลและส่วนราชการต่าง ๆ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้ข้อมูลข่าวสารของรัฐในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเกิดภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย กฎกระทรวงฯ กำหนดให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(ก) จัดทำแผนการปฏิบัติการและดำเนินการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดให้ สอดคล้องกับแผนงานการประชาสัมพันธ์ของรัฐและแผนพัฒนาจังหวัด

(ข) ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลและให้บริการข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ของจังหวัด

(ค) ประสาน ให้คำปรึกษา และให้การช่วยเหลือด้านการประชาสัมพันธ์แก่ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัด

(ง) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่ เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย

 

1. นายทวีป วัฒนไชย ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ.2526 - 2527

2. นายสาโรช บุญบุตร ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ.2529 - 2536

3. นายเสน่ห์ มีพร้อม ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ.2537 - 2540

4. นายประสาร ผลอาหาร ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ.2540 - 2540

5. นายเสน่ห์ มีพร้อม ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ.2540 - 2543

6. นายนรกิจ ศรัทธา ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ.2543 - 2546

7. นายรังสรรค์ ขำแจง ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ.2546 - 2550

8. นางสาวพิมพ์พิศา พจนานุรัตน์ ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ.2550 - 2553

9. นายรังสรรค์ ขำแจง ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ.2553 - 2558

10. นางระพีพร มีสอาด ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ.2559 - 2562

11. นางศศิธร สุดเจริญ ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ.2562 - ปัจจุบัน 

 

 ตรากรมประชาสัมพันธ์

      ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ” ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบตามวรรณคดีกล่าวไว้ว่า พระอินทร์เป่าสังข์ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก อย่างไรก็ดี โดยที่สังข์ ตามลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นมงคล 3 คือ สังข์ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวทและตัวสังข์ มีรอยนิ้วพระหัตถ์ ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนา พราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย นอกจากนี้ พระในลัทธิชินโตก็ใช้สังข์เป่าในพิธีมงคลพวกชาวเกาะทะเลใต้ เป่าสังข์ บอกสัญญาณระหว่างกันปรากฏว่าได้ยินไปไกลไม่แพ้เป่าเขาควาย เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาเผยแพร่และอธิบายชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างกว้างขวางเป็นการสร้างความเข้าใจอันดี โดยมีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และภาพยนตร์เป็นเครื่องช่วย จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์ของเทวดาในสมัยโบราณเพื่อบอก สัญญาณ และเรียกประชุม นั่นเอง

 

 สีกรมประชาสัมพันธ์

ใช้สีม่วง ซึ่งถือกันว่าเป็นสีของงานสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์

 

Link banner

 

Copy code นี้ไปลงในเว็บไซต์ของท่าน

 <a href="http://www.prd.go.th" target="_blank"><img src="http://www.prd.go.th/images/prd_banner01.jpg" border="0" alt="กรมประชาสัมพันธ์"

image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar